ต่อทะเบียน ต่อภาษีประจำปี ต้องจ่ายเท่าไหร่

Last updated: 1 พ.ย. 2563  |  898 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ต่อทะเบียน ต่อภาษีประจำปี ต้องจ่ายเท่าไหร่

สำหรับผู้ที่มีรถยนต์ ทุก ๆ หนึ่งปี ต้องทำการต่อทะเบียนหรือภาษีรถยนต์ประจำปีให้กับกรมขนส่งทางบก วันนี้เราจึงนำความรู้ สูตรการคำนวณค่าใช้จ่ายการต่อทะเบียนหรือภาษีรถยนต์ประจำปีสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งมีการคิดภาษีแบ่งรถยนต์เป็น 3 ประเภท เป็นอย่างไรบ้างมาดูกัน

1. รถกระบะ 4 ประตู, รถเก๋ง
    คือรถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ เป็นประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่งคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ (c.c.) โดยรายละเอียดมีดังนี้
  • 1-600 c.c. – c.c. ละ 50 สตางค์
  • 601-1800 c.c. – c.c. ละ 1.50 บาท
  • 1801 c.c. ขึ้นไป – c.c. ละ 4 บาท
 ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์
 รถยนต์กระบะสี่ประตูรุ่นหนึ่ง เครื่องยนต์ 2,755 c.c.
  1.  ช่วง 1-600 c.c. / c.c. ละ 0.5 สตางค์ วิธีคิด 600 x 0.5 = 300 บาท
  2.   ช่วง 601-1,800 c.c. / c.c. ละ 1.50 บาท วิธีคิด (1,800 – 600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
  3. ช่วง 1,801-2,755 c.c. / c.c. ละ 4 บาท วิธีคิด (2,755-1,800) = 955 x 4 = 3,820
  4. นำตัวผลลัพธ์ของแต่ละช่วง c.c. มาบวกกัน = 300+1,800+3,820 = 5,920 บาท
 
ส่วนรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้
  • อายุการรถยนต์เกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
  • อายุการรถยนต์เกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
  • อายุการรถยนต์เกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
  • อายุการรถยนต์เกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
  • อายุการรถยนต์เกิน 10 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ เมื่อได้ส่วนลดจากเดิม
  • รถยนต์กระบะสี่ประตูรุ่นหนึ่ง เครื่องยนต์ 2,755 c.c. เสียค่าต่อภาษีปีละ 5,920 บาท
  • เมื่ออายุรถเข้าปีที่ 6 นำ 5,920-10% = 5,328 บาท 
  • เมื่ออายุรถเข้าปีที่ 7 นำ 5,920-20% = 4,736 บาท
  • เมื่ออายุรถตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป 5,920-50% = 2,960 บาท
 
*หากเสียภาษีช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน (เศษของวันนับเป็น 1 เดือน)
2. รถกระบะ 2 ประตู
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว ประเภทรถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม – อัตราภาษี 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,650 บาท
*สามารถเช็กน้ำหนักรถยนต์ได้จากเล่มรถ
3.รถตู้
ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,300 บาท
  • น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,600 บาท

*สามารถเช็กน้ำหนักรถยนต์ได้จากเล่มรถ
      สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ปัจจุบันเก็บปีละ 100 บาท ต่อคัน ซึ่งล่าสุดกรมการขนส่งจะเตรียมปรับเรื่องต่อภาษี ต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ใหม่เร็ว ๆ นี้ หากมีความชัดเจนเราจะมาอัพเดตให้ดูกันอีกรอบครับ




ข้อมูลจาก dlt.go.th

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้