คำถามที่พบบ่อย

บ้านประกัน

 บริการ ของบ้านประกัน ครบจบทุงานที่นี่

  • รับสมัครตัวแทนทั่วประเทศ 
  • รับทำงานทะเบียนรถทุกประเภท
  • จดทะเบียนรถใหม่
  • โอน -​ ย้าย
  • ต่อภาษีขาดตั้งแต่เกิน 1-3 ปี
  • แจ้งเปลี่ยนป้ายทะเบียนใหม่
  • แจ้งย้าย แจ้งเปลี่ยนสี
  • แจ้งเปลี่ยนเครื่อง
  • แจ้งติดตั้งแก๊สหรือยกเลิกแก๊ส
  • รับทำ พรบ. ประกันภัยรอรับได้เลย
  • รับต่อภาษีรถยนต์ทุกประเภท
  • ต่อประกันภัยทุกประเภท 1-3 (2+,3+)
  • รถมอเตอร์ไซค์
  • รถยนต์ กะบะ รถตู้

  ติดต่อพนักงาน  

โทร. 093-9946227

ความรู้ทั่วไปกับรถยนต์

พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ ต่างกันยังไง 
     1. พ.ร.บ.รถยนต์ คือ เอกสารที่ใช้คุ้มครองค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากรถยนต์ โดยลักษณะของ พ.ร.บ. จะอยู่บนกระดาษขนาด A4 ขอบข้างมีแถบสีเงิน ซึ่งเป็นเอกสารจำเป็น ที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ถ้ารถยนต์คันไหนไม่มี พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่ออายุของป้ายภาษีรถยนต์ได้
    2. ป้ายภาษีรถยนต์ คือ เอกสารที่แสดงให้เห็นว่าได้มีการต่อภาษีรถประจำปีอย่างถูกต้องกับกรมขนส่ง ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ โดยแผ่นป้ายภาษีรถยนต์จะมีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็ก ส่วนใหญ่จะติดอยู่ที่กระจกรถยนต์

รถชนิดใดบ้างที่ต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

ตอบ   : รถทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ไม่ว่าจะเป็นรถส่วนบุคคล รถโดยสาร รถบรรทุก รถราชการ รถบดถนน รถอีแต๋น รถพ่วง และรถที่ใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน ต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ทั้งหมด

 

  ติดต่อพนักงาน  

 

ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ กรมธรรม์ไม่คุ้มครอง จริงหรือ ?

หากคุณเป็นฝ่ายถูก ไม่ว่ารถคุณจะทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2+ ชั้น 3+ หรือชั้น 3 “ถ้าเราเป็นฝ่ายถูก ประกันต้องจ่าย” แม้ว่าคุณจะไม่มีใบขับขี่ก็ตาม
แต่ถ้าคุณเป็นฝ่ายผิด แล้วไม่มีใบขับขี่ (ไม่เคยทำใบขับขี่มาก่อน) หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่แบบนี้ประกันจะไม่คุ้มครองคุณ แต่จะจ่ายค่าซ่อมรถและค่ารักษาพยาบาลให้คู่กรณี
..............................................................
สนใจประกันรถยนต์ชั้น
โทร : 093-9946227
#ประกันรถราคาถูก #ต่อประกันภัย
www.banprakun.com

การโอนรถยนต์ให้คนอื่น มีผลต่อกรมธรรม์ประกันรถยนต์อย่างไร ?

ตามความคุ้มครอง หมวดเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 9 การโอนรถยนต์

  • เมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้แก่บุคคลอื่น ให้ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ และบริษัทต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อไปตลอดอายุกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังเหลืออยู่
  • อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ทำประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ขับขี่ให้บริษัททราบ เพื่อจะได้มีการปรับปรุงอัตราเบี้ยประกันภัยตามสภาพความเสี่ยงภัยที่เปลี่ยนแปลงไป มิฉะนั้นผู้เอาประกันภัยอาจจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนแรกเอง ตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ปรากฏในกรมธรรม์ประกันภัยนี้

ตีความได้ว่า
  • การกำหนดเงื่อนไขนี้ขึ้น เพื่อเป็นการยืนยันว่า กรมธรรม์จะไม่สิ้นผลบังคับ เพราะเหตุที่มีการโอนรถยนต์ไปให้บุคคลอื่น โดยมิได้แจ้งการโอนให้บริษัททราบ ทั้งนี้ เนื่องจากโดยปกติเพียงแต่ผู้เอาประกันภัยเดิม หรือผู้รับโอนแจ้งการโอนให้บริษัททราบ บริษัทก็มักจะให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ดังกล่าวดำเนินต่อไป ตามระยะเวลาเอาประกันภัยที่เหลืออยู่ โดยบริษัทเพียงแต่ออกใบสลักหลังเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกันภัยเท่านั้น เงื่อนไขข้อนี้ จึงกำหนดให้สิทธิตามกรมธรรม์ติดตามไปกับตัวรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือการโอนใด ๆ ก็ไม่ทำให้สัญญาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้สิ้นผลบังคับ แต่ให้ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้แต่กรมธรรม์ดังกล่าวกำหนดเพียงให้สิทธิตามกรมธรรม์ติดตามไปกับตัวรถยนต์ การกำหนดดังกล่าวหาเป็นเด็ดขาดไม่ ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้เอาประกันภัยเดิม ซึ่งเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยเป็นสำคัญว่า ตนประสงค์จะให้สิทธิตามกรมธรรม์โอนตามหรือไม่ ก็ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้เอาประกันภัยนั้น
  • การที่ผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ไปให้บุคคลอื่น โดยข้อตกลงในการโอนนั้น แม้จะมิได้กล่าวถึงและมิได้มีการส่งมอบกรมธรรม์ให้แก่ผู้รับโอนก็ตาม ก็ต้องถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้แล้วแม้ผู้เอาประกันภัยเดิมได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งว่า ไม่ประสงค์จะให้สิทธิกรมธรรม์ประกันภัยนี้โอนไปยังผู้รับโอน ทั้งมิได้มีการส่งมอบกรมธรรม์ให้แก่ผู้รับโอน แต่ตราบใดที่ผู้เอาประกันภัยเดิมยังมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ และระหว่างนั้นหากรถยนต์คันดังกล่าวไปประสบอุบัติเหตุ ความรับผิดหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็ยังคงได้รับความคุ้มครองต่อไป จนกว่าการบอกเลิกจะมีผลบังคับ (การบอกเลิกไม่มีผลกระทบถึงสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ที่เกิดขึ้นก่อนกรมธรรม์สิ้นผลบังคับ)
  • แม้โดยผลของเงื่อนไขตามวรรคแรกที่กำหนดให้ผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัย และให้กรมธรรม์ยังคงมีผลบังคับต่อไปตลอดระยะเวลาประกันภัยที่เหลือก็ตาม แต่หากเป็นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเดิมได้ทำประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ไว้ ดังนั้น เมื่อมีการโอนให้แก่บุคคลอื่นไปแล้วผู้ที่จะมาใช้หรือขับขี่รถยนต์ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไป ในวรรคสองจึงมีการกำหนดหน้าที่ของผู้รับโอน ซึ่งถือว่าเป็นผู้เอาประกันภัยคนใหม่ไว้ว่า ให้ผู้เอาประกันภัยคนใหม่นั้นจะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ขับขี่ให้บริษัททราบด้วย ทั้งนี้ เพื่อว่าบริษัทจะได้มีการปรับปรุงเบี้ยประกันภัยใหม่ให้ถูกต้องตามสภาพความเสี่ยงภัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการปรับปรุงเบี้ยประกันภัยจะต้องเริ่ม ณ วันที่ที่บริษัทได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงโดยคิดอัตราเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยรายวัน ในการนี้ ผู้เอาประกันภัยคนใหม่อาจจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม หรืออาจได้รับการคืนเบี้ยประกันภัยบางส่วนก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ขับขี่ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น เป็นผู้ขับขี่ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงภัยสูง หรือต่ำกว่าผู้ขับขี่คนเดิม
  • การแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ขับขี่ในที่นี้ ให้รวมถึงการเปลี่ยนประเภทการประกันภัยจากการประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ ไปเป็นการประกันภัยประเภทไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ หรือจากไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่เป็นระบุชื่อผู้ขับขี่ด้วยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเดิมได้ทำประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ไว้ และต่อมามีการโอนรถยนต์เกิดขึ้น แม้ผู้รับโอนซึ่งถือเป็นผู้เอาประกันภัยคนใหม่ จะไม่มีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ขับขี่ก็ตามก็ไม่ทำให้ความสมบูรณ์ของสัญญาประกันภัยเสียไป กรมธรรม์ยังคงสมบูรณ์ผูกพันคู่สัญญา เพียงแต่ว่า เมื่อมีความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก หรือความเสียหายต่อรถยนต์เกิดขึ้น ในขณะที่มีบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ขับขี่ที่ระบุไว้เดิมเป็นผู้ขับขี่แล้ว ผู้เอาประกันภัยคนใหม่นั้นจะต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกเองเป็นจำนวนใดจำนวนหนึ่งหรือทั้งสองจำนวนแล้วแต่กรณี ดังนี้
- 2,000 บาท สำหรับความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (ตามเงื่อนไขข้อ 2(ค) ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก)
- 6,000 บาท ของความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดจากการชน หรือการคว่ำ (ตามเงื่อนไขข้อ 4 (ค) ของหมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์)

ข้อมูล prakunrod.com

  ติดต่อสอบถามพนักงาน  

ความรู้ประกันรถ

การประกันภัยรถยนต์ มี 2 ประเภท
      1. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ คือ พ.ร.บ. เป็นการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. โดยกฎหมายบังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องทำ พ.ร.บ. และต้องมีไว้เป็นขั้นพื้นฐาน
     2. การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ การตัดสินใจทำประกันภัยรถยนต์ของตนเองเพิ่มด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้น ได้ส่วนของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถ หรือความรับผิดตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอก

ค่าเอ็กเซส (excess) หรือค่าส่วนเกิน คือ จำนวนเงินที่คุณตกลงรับผิดชอบกรณีที่เกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุที่ผิดจากเงื่อนไขความคุ้มครอง เช่น กรณีรถยนต์ถูกขีดข่วน และไม่สามารถหาตัวผู้ทำได้ หรือไม่มีคู่กรณี คุณจะต้องเป็นผู้เสียค่า excess ในการซ่อมแซมครั้งนั้น ซึ่งจำนวนเงินจะขึ้นอยู่กับกรณี หรือตามที่ตกลงกันไว้

ในการทำประกันชั้น 1 รถควรอยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนทำประกัน หากรถมีความเสียหายอยู่แล้ว แต่เป็นความเสียหายไม่มาก เช่น รอยครูด 2-3 แผล บริษัทประกันอาจรับทำประกันได้ โดยจะ remark ความเสียหายไว้ในระบบ ซึ่งความเสียหายดังกล่าวไม่สามารถเคลมได้ เนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนรับประกัน หากต่อมาผู้เอาประกันนำรถเข้าซ่อม (เคลมกับประกันเดิม หรือซ่อมเอง) สามารถแจ้งให้บริษัทประกันไปถ่ายรูปรถใหม่ เพื่อลบ remark ได้

ในกรณีที่ความเสียหายมาก บริษัทประกันจะปฏิเสธการรับประกัน

  ติดต่อเจ้าหน้าที่  

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้