Last updated: 8 มิ.ย. 2566 | 10157 จำนวนผู้เข้าชม |
การดำเนินการด้านการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
หลักเกณฑ์ทั่วไปในการขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดระเบียบการขนส่งส่วนบุคคลเป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัย มีการใช้รถอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
หลักเกณฑ์ในการขอรับใบอนุญาต
1. ผู้ขอต้องเป็นผู้ที่ประกอบธุรกิจหรือการค้าและมีความจำเป็นต้องใช้รถเพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจของตนเอง
รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการอื่น ๆ โดยไม่ได้ใช้รถนั้นเพื่อรับจ้างหารายได้ การใช้รถเป็นเครื่องมือรับจ้างหารายได้ เป็นการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถบรรทุก
2. ผู้ขอจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้
3. รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องจดทะเบียนเป็นชื่อของผู้ประกอบการเท่านั้น
เช่น เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้เช่าซื้อ จะมีรถร่วมไม่ได้
4. ในการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ผู้ขอไม่จำเป็นต้องมีตัวรถในขณะที่ขออนุญาต แต่ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนรถและลักษณะรถที่จะใช้ให้ชัดเจน เมื่อได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว
ค่อยจัดหารถมาใช้ตามที่ได้รับอนุญาต โดยนำสำเนาทะเบียนรถหรือสำเนาใบแจ้งจำหน่ายรถมายื่นขอบรรจุรถต่อไป
5. สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ
5.1 จะใช้สถานที่แห่งเดียวหรือหลายแห่งรวมกันก็ได้ ซึ่งจะต้องใช้เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถได้จริงและเพียงพอกับจำนวนรถที่ขออนุญาตไว้ (ใช้พื้นที่ 50 ตารางเมตรต่อรถ 1 คัน)
5.2 ไม่ใช้สถานที่ทางศาสนาหรือสถานศึกษา หรือไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่จะก่อให้เกิดอันตราย
หรือความไม่สงบต่อสถานที่ใกล้เคียง และต้องมีถนนหรือทางให้รถสามารถเข้าออกได้สะดวก
5.3 หลักฐานแสดงการมีสิทธิใช้สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ให้ใช้ สำเนาโฉนดที่ดินและ หรือสำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ กรณีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ไม่ใช่ของผู้ขออนุญาตเองแต่เป็นของบุคคลอื่น หลักฐานให้สิทธิใช้สถานที่ให้จัดทำเป็นนิติกรรมสองฝ่ายและต้องแสดงหลักฐานสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้ใช้สถานที่ประกอบด้วย
6. การพิจารณาหลักฐานแสดงการประกอบธุรกิจ หากผู้ขออนุญาตไม่มีใบทะเบียนพาณิชย์
ใบทะเบียนการค้าเพื่อประกอบการพิจารณา ต้องแสดงหลักฐานจนเป็นที่เชื่อถือได้ว่า
ผู้ขออนุญาตประกอบธุรกิจการค้าตามที่อ้าง เช่น หลักฐานการเสียภาษีเงินได้เนื่องจากการประกอบธุรกิจหรือกิจการค้านั้น
หากไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัด เจ้าหน้าที่อาจจะไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหรือการค้าของผู้ขออนุญาตและรายละเอียดความจำเป็นต้องใช้รถเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาต่อไป
การขออนุญาตประกอบการขนส่ง
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลมีอายุ 5 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
เอกสารหลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์,
สำเนาหนังสือ บริคณฑ์สนธิและข้อบังคับ, สำเนาบัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีเป็นนิติบุคคล)
3. สำเนาทะเบียนรถหรือสำเนาใบแจ้งจำหน่ายรถ
4. เอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าประกอบธุรกิจการค้า เช่น ใบทะเบียนพาณิชย์ หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.01).........
5. เอกสารหลักฐานแสดงสถานที่เก็บ ซ่อม บำรุงรักษารถ เช่น สำเนาโฉนดที่ดินและหรือสำเนาทะเบียนบ้าน
ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ กรณีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถไม่ใช่ของผู้ขออนุญาตเอง แต่เป็นของบุคคลอื่น
หลักฐานให้สิทธิใช้สถานที่ให้จัดทำเป็นนิติกรรมสองฝ่าย และต้องแสดงหลักฐานสำเนาบัตรประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้ใช้สถานที่ประกอบด้วย
6. หนังสือมอบอำนาจ กรณีไม่มาดำเนินการด้วยตนเอง
ขั้นตอนการดำเนินการ 6 ขั้นตอน 1 จุดบริการ ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 7 ช.ม. 10 นาที
1. ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและหลักฐาน
2. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ ลักษณะและขนาดกิจการ จัดเก็บค่าธรรมเนียม/ออกใบเสร็จบันทึกข้อมูล ออกใบอนุญาต รวบรวมข้อมูล สรุปรายละเอียดเสนอนักวิชาการพิจารณา
3. นักวิชาการพิจารณา สรุปรายละเอียดเสนอหัวหน้างาน
4. หัวหน้างานตรวจสอบและนำเสนอนายทะเบียนกลาง
5. นายทะเบียนกลางพิจารณา/ลงนาม
6. รับเรื่อง
การดำเนินการเกี่ยวกับรถหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
ข่าวสารและโปรโมชั่น
การดำเนินการด้านการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
หลักเกณฑ์ทั่วไปในการขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดระเบียบการขนส่งส่วนบุคคลเป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัย มีการใช้รถอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
หลักเกณฑ์ในการขอรับใบอนุญาต
1. ผู้ขอต้องเป็นผู้ที่ประกอบธุรกิจหรือการค้าและมีความจำเป็นต้องใช้รถเพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจของตนเอง
รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการอื่น ๆ โดยไม่ได้ใช้รถนั้นเพื่อรับจ้างหารายได้
การใช้รถเป็นเครื่องมือรับจ้างหารายได้ เป็นการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถบรรทุก
2. ผู้ขอจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้
3. รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ต้องจดทะเบียนเป็นชื่อของผู้ประกอบการเท่านั้น
เช่น เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้เช่าซื้อ จะมีรถร่วมไม่ได้
4. ในการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ผู้ขอไม่จำเป็นต้องมีตัวรถในขณะที่ขออนุญาต
แต่ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนรถและลักษณะรถที่จะใช้ให้ชัดเจน เมื่อได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว
ค่อยจัดหารถมาใช้ตามที่ได้รับอนุญาต โดยนำสำเนาทะเบียนรถหรือสำเนาใบแจ้งจำหน่ายรถมายื่นขอบรรจุรถต่อไป
5. สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ
5.1 จะใช้สถานที่แห่งเดียวหรือหลายแห่งรวมกันก็ได้ ซึ่งจะต้องใช้เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถได้จริง
และเพียงพอกับจำนวนรถที่ขออนุญาตไว้ (ใช้พื้นที่ 50 ตารางเมตรต่อรถ 1 คัน)
5.2 ไม่ใช้สถานที่ทางศาสนาหรือสถานศึกษา หรือไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่จะก่อให้เกิดอันตราย
หรือความไม่สงบต่อสถานที่ใกล้เคียง และต้องมีถนนหรือทางให้รถสามารถเข้าออกได้สะดวก
5.3 หลักฐานแสดงการมีสิทธิใช้สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ให้ใช้ สำเนาโฉนดที่ดินและ
หรือสำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ กรณีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ ไม่ใช่ของผู้ขออนุญาตเอง
แต่เป็นของบุคคลอื่น หลักฐานให้สิทธิใช้สถานที่ให้จัดทำเป็นนิติกรรมสองฝ่าย
และต้องแสดงหลักฐานสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้ใช้สถานที่ประกอบด้วย
6. การพิจารณาหลักฐานแสดงการประกอบธุรกิจ หากผู้ขออนุญาตไม่มีใบทะเบียนพาณิชย์
ใบทะเบียนการค้าเพื่อประกอบการพิจารณา ต้องแสดงหลักฐานจนเป็นที่เชื่อถือได้ว่า
ผู้ขออนุญาตประกอบธุรกิจการค้าตามที่อ้าง เช่น หลักฐานการเสียภาษีเงินได้เนื่องจากการประกอบธุรกิจหรือกิจการค้านั้น
หากไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัด เจ้าหน้าที่อาจจะไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
หรือการค้าของผู้ขออนุญาตและรายละเอียดความจำเป็นต้องใช้รถเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาต่อไป
การขออนุญาตประกอบการขนส่ง
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลมีอายุ 5 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
เอกสารหลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์,
สำเนาหนังสือ บริคณฑ์สนธิและข้อบังคับ, สำเนาบัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีเป็นนิติบุคคล)
3. สำเนาทะเบียนรถหรือสำเนาใบแจ้งจำหน่ายรถ
4. เอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าประกอบธุรกิจการค้า เช่น ใบทะเบียนพาณิชย์ หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.01).........
5. เอกสารหลักฐานแสดงสถานที่เก็บ ซ่อม บำรุงรักษารถ เช่น สำเนาโฉนดที่ดินและหรือสำเนาทะเบียนบ้าน
ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ กรณีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถไม่ใช่ของผู้ขออนุญาตเอง แต่เป็นของบุคคลอื่น
หลักฐานให้สิทธิใช้สถานที่ให้จัดทำเป็นนิติกรรมสองฝ่าย และต้องแสดงหลักฐานสำเนาบัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้ใช้สถานที่ประกอบด้วย
6. หนังสือมอบอำนาจ กรณีไม่มาดำเนินการด้วยตนเอง
ขั้นตอนการดำเนินการ 6 ขั้นตอน 1 จุดบริการ ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 7 ช.ม. 10 นาที
1. ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและหลักฐาน
2. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ ลักษณะและขนาดกิจการ จัดเก็บค่าธรรมเนียม/ออกใบเสร็จ
บันทึกข้อมูล ออกใบอนุญาต รวบรวมข้อมูล สรุปรายละเอียดเสนอนักวิชาการพิจารณา
3. นักวิชาการพิจารณา สรุปรายละเอียดเสนอหัวหน้างาน
4. หัวหน้างานตรวจสอบและนำเสนอนายทะเบียนกลาง
5. นายทะเบียนกลางพิจารณา/ลงนาม
6. รับเรื่อง
การดำเนินการเกี่ยวกับรถหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
1. รถใหม่ยังไม่มีทะเบียน ให้ดำเนินการจดทะเบียนและชำระภาษี โดยดำเนินการตามสถานที่ดังนี้
ส่วนกลาง ที่กรมการขนส่งทางบก ส่วนภูมิภาค ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด
2. รถที่จดทะเบียนแล้ว และยังบรรจุอยู่ในประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งรายอื่น จะต้องดำเนินการถอนรถออกจากใบอนุญาตประกอบการเดิมเสียก่อน แล้วจึงดำเนินการโอนเป็นชื่อของผู้ขออนุญาตต่อไป
16 มี.ค. 2564
6 เม.ย 2564
16 มี.ค. 2564