ความหมาย / รหัสรถยนต์ประเภทต่าง
รถที่ใช้ระบุในกรมธรรม์จะมี 3 หลัก
- หลักแรก หมายถึง ชนิดรถ
- หลักสองและสาม หมายถึง ลักษณะการใช้รถงานรถยนต์
หลักแรก หมายถึง
1 ประเภทรถยนต์นั่ง
2 ประเภทรถยนต์โดยสาร
3 ประเภทรถยนต์บรรทุก
4 ประเภทรถยนต์ลากจูง
5 ประเภทรถพ่วง
6 ประเภทรถจักรยานยนต์
7 ประเภทรถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ
8 ประเภทรถยนต์เบ็ดเตล็ด
ตัวเลขที่สองและสาม ได้แก่
10 ชนิดรถยนต์ส่วนบุคคล
20 ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์
30 ชนิดรถยนต์ใช้รับจ้างสาธารณะ
40 ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์พิเศษ
รหัสรถยนต์ภาคสมัครใจ และลักษณะการใช้รถ
1. รถเก๋ง รกระบะ 4 ประตูไม่ต่อสองแถว ป้ายสีขาวตัวอักษรสีดำ (รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง)
- รหัส 110 คือรถยนต์ใช้ส่วนบุคคลไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า
- รหัส 120 คือรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือรถจดทะเบียนบุคคล แต่ใช้งานรับจ้าง(ไม่ประจำทาง) หรือ รถยนต์ให้เช่า
2. รถกระบะแคปและไม่แคป ป้ายสีขาวตัวอักษรสีเขียว (รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน)- รหัส 210 คือรถยนต์ใช้ส่วนบุคคล ไม่กั้นโครงเหล็ก ไม่ติดหลังคา บางบริษัทใช้รหัส 320 (เน้นการใช้งานโดยสาร)
- รหัส 320 คือรถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ รับจ้างหรือให้เช่า (เน้นใช้งานบรรทุก)
- รหัส 340 คือรถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ ใช้บรรทุกวัตถุอันตราย เช่น ก๊าช น้ำมัน วัตถุไวไฟ
3. รถตู้โดยสาร ป้ายสีขาวตัวอักษรสีฟ้า (รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล)- รหัส 210 คือรถยนต์โดยสารใช้ส่วนบุคคล ไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า ชื่อบุคคลหรือชื่อบริษัทแต่ใช้ประจำตำแหน่ง
- รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารพาณิชย์ใช้รับจ้างรับส่งพนักงานบริษัท นักเรียน วิ่งทัวร์ต่างๆ หรือชื่อบริษัทไม่ใช้ประจำตำแหน่ง
4. รถตู้โดยสาร ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรเป็นตัวเลขทั้งหมด ตัวเลขสีดำ (รถยนต์โดยสารรับจ้าง)- รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารใช้รับจ้างรับส่งพนักงานบริษัท นักเรียน วิ่งทัวร์ต่างๆ
- รหัส 230 คือรถยนต์โดยสาร ใช้รับจ้างประจำทาง รับจ้างสาธารณะ
สำหรับประเภทรถยนต์เบ็ดเตล็ด กำหนดไว้ดังนี้- รถยนต์ป้ายแดง
- รถพยาบาล
- รถดับเพลิง
- รถใช้ในการเกษตร
- รถใช้ในการก่อสร้าง
- รถอื่นๆ