Last updated: 1 ต.ค. 2563 | 4877 จำนวนผู้เข้าชม |
รถยนต์ 1 คัน ต้องมี 3 อย่าง
1.ต้องต่อประกันภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. รถยนต์
2.ภาษีรถยนต์ประจำปี (ต่อที่กรมขนส่งทางบก)
3.ประกันภาคสมัครใจ ( ป1 ,2+,3+,3) ซึ่งกฎหมายไม่ได้บังคับ
พ.ร.บ รถยนต์ คือ การประกันภัยภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ พ.ศ. 2535 โดยจะมีการบังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทำประกันภัยตาม พ.ร.บ ที่ว่านี้ หากไม่ทำกระทำ ก็จะมีความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 10,000บาท
การต่อภาษีรถยนต์สามารถต่อล่วงหน้าก่อนครบกำหนดเสียภาษีได้ไม่เกิน 90วัน
เอกสารที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์
1.คู่มือจดทะเบียนรถยนต์(เล่มทะเบียนรถยนต์) หรือสำเนาทะเบียนรถยนต์
2.พ.ร.บ. รถที่ยังไม่หมดอายุความคุ้มครอง
3.ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์
(สำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7ปีขึ้นไป หรือจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5ปีขึ้นไป)
การต่อภาษีรถยนต์
สามารถต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90วัน ถ้าไม่เสียภาษีรถ(ภาษีขาด) หรือเสียภาษีรถช้ากว่าวันที่กำหนด
จะต้องชำระเงินนอกเหนือจากภาษีเพิ่มอีก 1% ต่อเดือน(ค่าปรับล่าช้า)
รถที่ต้องตรวจสภาพ
เก๋ง/กระบะ (อายุรถ 7 ปีขึ้นไป)
จักรยานยนต์ (อายุรถ 5 ปีขึ้นไป)
พ.ร.บ กับภาษีรถยนต์ แตกต่างกันอย่างไร ??
พ.ร.บ รถยนต์ คือ การประกันภัยภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ พ.ศ. 2535 โดยจะมีการบังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทำประกันภัยตาม พ.ร.บ ที่ว่านี้ หากไม่ทำกระทำ ก็จะมีความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 10,000บาท
ป้ายภาษีรถยนต์ คือ ป้ายที่แสดงว่ารถยนต์คันดังกล่าวได้มีการชำระภาษีรถยนต์ประจำปีแล้ว โดยต้องแสดงให้เห็นชัดเจน ด้วยการติดที่หน้ากระจกรถยนต์
ประกันภาคสมัครใจ ( ป1 ,2+,3+,3) ซึ่งกฎหมายไม่ได้บังคับ
18 เม.ย 2564
29 ม.ค. 2566
25 ธ.ค. 2565
18 เม.ย 2564